ITA

ม.ทักษิณผลึกกำลังสู่ ปฏิบัติการสู่คณะวิจัย ม.ทักษิณ เสริมพลังคณะวิจัย มุ่งสู่ขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรม

   2 ก.พ. 68  /   109

สถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้จัดงานสัมมนา "ปฏิบัติการสู่คณะวิจัย มหาวิทยาลัยทักษิณ" โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ ได้พูดคุยถึง เป้าหมาย นโยบาย และความคาดหวังของคณะวิจัย "การวิจัยและนวัตกรรมเปรียบเสมือน "คานงัด เครื่องมือเสริมพลัง" ที่ช่วยขับเคลื่อนศักยภาพในการแข่งขันทางวิชาการและการพัฒนาองค์ความรู้ โดยเน้นการยกระดับคุณภาพและการต่อยอดผลงานวิจัยให้ได้รับการเผยแพร่ในเวทีระดับชาติและนานาชาติ ตลอดจนส่งเสริมการปรับปรุงและยกระดับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในระดับสากล"

นอกจากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์นพดล ศุกระกาญจน์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและกิจการสภามหาวิทยาลัย, รองศาสตราจารย์ ดร.สุทธิพร บุญมาก รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและการเรียนรู้, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ถาวร จันทโชติ รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และประกันคุณภาพ, รองศาสตราจารย์ ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม พูดคุยถึงประเด็นของแนวทางการขับเคลื่อนสู่คณะวิจัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพมาศ ปักเข็ม คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุไรวรรณ ทองแกมแก้ว คณบดีคณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัทรดา เทพประดิษฐ์ คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ ร่วมพูดคุยถึงประเด็นของ จังหวะปฏิบัติการสู่คณะวิจัย

แน่นอนว่าสถาบันวิจัยและนวัตกรรม เรามี กลไกสนับสนุนและเตรียมความพร้อมสำหรับคณะวิจัย ตามที่ รองศาสตราจารย์ ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ได้นำเสนอไปไม่ว่าจะเป็น

  • หลักสูตร TSU Research Transformation – ฝึกอบรมพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย เช่น การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, Outcome Mapping, Impact Pathway และ SROI โดยผู้เข้าร่วมต้องเป็นบุคลากรสายวิชาการของมหาวิทยาลัยทักษิณและไม่เคยได้รับทุนวิจัยในปีงบประมาณเดียวกัน

  • การสนับสนุนทุนวิจัยของมหาวิทยาลัยทักษิณ – ให้ทุนโครงการละ 70,000 บาท ภายใต้ระบบ Mentoring โดยมีเงื่อนไขต้องผ่านการอบรมและไม่มีตำแหน่งทางวิชาการสูงกว่ารองศาสตราจารย์

  • การจัดตั้งหน่วยวิจัย ศูนย์วิจัยเฉพาะทาง และศูนย์ความเป็นเลิศ – มีการสนับสนุนงบประมาณ 100,000-300,000 บาท/ปี ตามประเภทของศูนย์วิจัย โดยต้องมีผลงานและการจัดหาแหล่งทุนภายนอกเพิ่มเติม

  • ระบบสนับสนุนการวิจัย (Research Facility) – ให้การสนับสนุนด้านอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกทางวิจัย

  • ค่าธรรมเนียมทุนวิจัยภายนอก (Overhead) – การจัดสรรงบประมาณจากแหล่งทุนภายนอกให้คณะวิจัย ใช้ในการบริหารจัดการงานวิจัย

  • การสนับสนุนค่าตอบแทนการตีพิมพ์เผยแพร่ – มีบริการ Publication Clinic ช่วยตรวจสอบคุณภาพวารสาร, ค่าตีพิมพ์ และการป้องกันการคัดลอกผลงาน

  • TSU-RCX PRE-ACCELERATION PROGRAM – โครงการช่วยนำงานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์