ITA

มหาวิทยาลัยได้กำหนด “หมุดหมาย” (Milestones) การบริหารเพื่อขับเคลื่อนและมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม โดยกำหนดให้หมุดหมายที่ 2 เน้นการสร้างผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การพัฒนาเชิงพื้นที่ และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมหาวิทยาลัยมีนโยบายและกลไกการสนับสนุนการวิจัย การสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนมีการขับเคลื่อนและการบริหารจัดการองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากผลงานวิจัยอันจะนำไปสู่การนำไปใช้ประโยชน์และการต่อยอดเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างคุณค่า มูลค่า และขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน สังคมของประเทศไปสู่การแข่งขันในระดับนานาชาติ ซึ่งผสานการดำเนินงานและการขับเคลื่อนด้วยพันธกิจแบบบูรณาการจากจุดแข็งที่มีทั้งองค์ความรู้แลเทคโนโลยีทางสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ และการร่วมมือกับภาคีพันธมิตร ประกอบกับตามที่คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้อนุมัติกรอบงบประมาณภายใต้โปรแกรม ๒๕ แผนงานย่อยพัฒนาระบบและกลไกสร้างความเข้มแข็งของระบบนิเวศ ววน.แผนงานย่อยรายประเด็น “แผนงานพัฒนาระบบ ววน. ในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพลิกโฉมมหาวิทยาลัย” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดย สป.อว. จัดสรรเงินอุดหนุนและการส่งมอบผลการดำเนินงานภายใต้โปรแกรม 25 แผนงานย่อยพัฒนาระบบและกลไกสร้างความเข้มแข็งของระบบนิเวศ ววน. แผนงานย่อยรายประเด็น “แผนงานพัฒนาระบบ ววน. ในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อพลิกโฉมมหาวิทยาลัย” ระหว่าง สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กับ มหาวิทยาลัยทักษิณ เพื่อให้การบริหารโครงการเป็นไปตามแผนงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ตามคำรับรองที่ได้ให้ไว้กับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดย สป.อว.จะให้การสนับสนุนงบประมาณในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ดังนั้น สถาบันวิจัยและพัฒนาจึงกำหนดจัด โครงการการเพิ่มสมรรถนะและระบบนิเวศน์สนับสนุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยทักษิณสู่การใช้ประโยชน์และขับเคลื่อนธุรกิจนวัตกรรม

 

 

1) พัฒนาศักยภาพของนักวิจัยของมหาวิทยาลัยทักษิณในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมตลอดจนจัดการงานวิจัยที่สามารถใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ผ่านหลักสูตร: Commercial researcher

2) ส่งเสริมการพัฒนาความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารทรัพย์สินทางปัญญาให้บุคลากรใน TLO ของมหาวิทยาลัยทักษิณให้มีศักยภาพในการทำงานและสามารถให้คำปรึกษาและผลักดันให้มีการนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ให้เกิดประโยชน์

3) พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลในการบริหารจัดการสิทธิเทคโนโลยี ของมหาวิทยาลัยทักษิณในรูปแบบออนไลน์ (TSU IP licensing platform) เพื่อใช้สนับสนุนกลไกการประชาสัมพันธ์และกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ การอนุญาตใช้สิทธิ การขอรับการคุ้มครองออนไลน์ การติดตามการจดทะเบียนการจับคู่ทรัพย์สินทางปัญญาที่เหมาะสมไปยังผู้ประกอบการ และรวมไปถึงการให้บริการกับผู้ประกอบการที่สนใจเทคโนโลยีผ่านระบบดิจิทัล

4) สร้างระบบและกลไก TSU Holding company ของมหาวิทยาลัยทักษิณ ส่งเสริมนักวิจัยและนิสิตให้ก่อตั้งบริษัท startup ที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยทักษิณมาสร้างธุรกิจและก่อให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจฐานนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise: IDE)