ITA

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ร่วมแลกเปลี่ยน 10 ศูนย์วิจัยเฉพาะทางของมหาวิทยาลัยทักษิณ และเตรียมความพร้อมในการจัดตั้ง 4 ศูนย์วิจัยเพิ่มเติม มุ่งเน้นพัฒนานวัตกรรมสังคม

   24 ก.พ. 68  /   186

ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 มหาวิทยาลัยทักษิณ โดย สถาบันวิจัยและนวัตกรรม จัดโครงการ "ขับเคลื่อนหน่วยวิจัย ศูนย์วิจัยเฉพาะทาง และศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทาง" ณ ห้องประชุม Showcase ชั้น 1 อาคารศูนย์เครื่องมือกลาง วิทยาเขตพัทลุง โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.เสาวภา ไชยวงศ์ จากศูนย์วิจัยระบบนิเวศเชิงบูรณาการเกษตรและเทคโนโลยี ภายใต้สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นวิทยากรหลักในการแลกเปลี่ยน และบรรยายพิเศษเกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อนหน่วยวิจัย ศูนย์วิจัยเฉพาะทาง และศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางในครั้งนี้ นอกจากนั้น รองศาสตราจารย์ ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม บรรยายเกี่ยวกับนโยบายของมหาวิทยาลัยใน การสนับสนุนการจัดตั้ง และทิศทางในการดำเนินงานของ หน่วยวิจัย ศูนย์วิจัยเฉพาะทาง และศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทาง มหาวิทยาลัยทักษิณ อีกด้วย

ซึ่งมหาวิทยาลัยมีการตั้งหน่วยวิจัย ศูนย์วิจัย และศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทาง 10 ศูนย์

  • ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีจุลินทรีย์เพื่อการเกษตร อาหารและสิ่งแวดล้อม โดย ผศ.ดร.มณฑล เลิศวรปรีชา(คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล)

  • หน่วยวิจัยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพบนพื้นที่นวัตกรรม โดย รศ.ดร.รุ่งชัชดาพร  เวหะชาติ (คณะศึกษาศาสตร์)

  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจสร้างสรรค์และนวัตกรรมสังคม โดย อ.ดร.สานิตย์ ศรีชูเกียรติ (คณะเศรษฐศาสตร์ฯ)

  • ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนฯ โดย อ.ดร.ทิพย์ทิวา  สัมพันธมิตร (คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล)

  • ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัล โดย อ.ดร. ณภัทร แก้วภิบาล (คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล)

  • ศูนย์นวัตกรรมเคมีวัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม โดย รศ.ดร.ศรชัย  อินทะไชย (คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล)

  • ศูนย์วิจัยยางทางการแพทย์ โดย อ.ดร.วีระวุฒิ  แนบเพชร  (คณะวิศวกรรมศาสตร์ )

  • ศูนย์ศิลปะและชีวิตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย ผศ.ดร.ระวีวัฒน์  ไทยเจริญ (คณะศิลปกรรมศาสตร์)

  • ศูนย์ความเป็นเลิศนวัตกรรมเกษตรและผลิตภัณฑ์ชีวภาพ โดย ผศ.ดร.นันทรัตน์  พฤกษาพิทักษ์ (คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล)

  • ศูนย์วิจัยด้านพืชพันธุ์พื้นถิ่นในวัฒนธรรมอาเซียน โดย อ.ลัดดา  ประสาร (คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)


นอกจากยังมีหน่วยวิจัย ศูนย์วิจัย และศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทาง ที่เตรียมจัดตั้งอีก 4 ศูนย์

  • ศูนย์ความเป็นเลิศด้านยานยนต์ไฟฟ้าและระบบราง โดย อ.ศุภชัย  แก้วพวง (คณะวิศวกรรมศาสตร์)

  • ศูนย์วิจัยการท่องเที่ยวชุมชนด้วยนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์  โดย รศ.ดร.รุ่งรวี  จิตภักดี(คณะสหวิทยาการและการประกอบการ)

  • ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวัตกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและการเกษตรมูลค่าสูง  โดย ผศ.ดร.จุฬาลักษณ์  อ้นทอง (คณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ)

  • ศูนย์วิจัยนวัตกรรมการเกษตรและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดย ผศ.ดร.สุภฎา คีรีรัฐนิคม (คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน)


สำหรับเป้าวัตถุประสงค์ของโครงการที่เกิดขึ้น....

  • เสริมสร้างศักยภาพของหน่วยวิจัย – เพิ่มขีดความสามารถของหน่วยวิจัย ศูนย์วิจัยเฉพาะทาง และศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านงานวิจัย

  • สนับสนุนงานวิจัยที่ตอบโจทย์สังคม – ส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบสนองต่อนโยบายของมหาวิทยาลัยและความต้องการของชุมชน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม

  • พัฒนาทักษะนักวิจัย – เปิดโอกาสให้นักวิจัยของมหาวิทยาลัยทักษิณได้เรียนรู้แนวทางใหม่ๆ ในการขับเคลื่อนหน่วยวิจัย และเพิ่มประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เฉพาะทาง

  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือ – ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักวิจัยทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และพัฒนาโครงการวิจัยร่วมกัน

  • แก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานวิจัย – เปิดเวทีให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถสะท้อนปัญหาและอุปสรรคที่พบ เพื่อหาแนวทางพัฒนาและปรับปรุงให้การดำเนินงานของหน่วยวิจัยมีความราบรื่นมากขึ้น

  • และนอกจากนั้นประโยชน์ที่นักวิจัยจะได้รับอีกมากมาย

  • เพิ่มขีดความสามารถของหน่วยวิจัย – หน่วยวิจัย ศูนย์วิจัยเฉพาะทาง และศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางของมหาวิทยาลัยทักษิณจะมีแนวทางในการดำเนินงานที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • ยกระดับคุณภาพงานวิจัย – งานวิจัยที่เกิดขึ้นจะมีคุณภาพสูงขึ้นและสามารถตอบโจทย์การพัฒนาประเทศและความต้องการของภาคอุตสาหกรรมได้มากขึ้น

  • พัฒนาศักยภาพนักวิจัย – นักวิจัยจะได้รับการเสริมทักษะและแนวคิดใหม่ๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานวิจัยของตนเอง

  • เสริมสร้างเครือข่ายวิจัยระดับชาติ – การเชื่อมโยงความร่วมมือกับนักวิจัยและหน่วยงานภายนอกจะช่วยขยายโอกาสในการพัฒนางานวิจัยให้มีความเป็นสากลมากขึ้น

  • นำไปสู่การต่อยอดนวัตกรรม – โครงการนี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดแนวคิดและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้

  • สนับสนุนการพัฒนานโยบายด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัย – ผลจากโครงการจะเป็นข้อมูลสำคัญในการปรับปรุงนโยบายด้านการส่งเสริมงานวิจัยของมหาวิทยาลัยทักษิณให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


  • แน่นอนว่า สถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ เราพร้อมเสริมสร้างศักยภาพหน่วยวิจัยของมหาวิทยาลัยทักษิณให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น พร้อมขยายเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคม


  •